วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อบรมมาตรฐานโรงอาหารในโรงเรียน


พ.ท.พรชัย มาลัยพวง หน.ผวป.รพ.รร.จปร.อบรมแนะนำการดำเนินงานความปลอดภัย
ด้านอาหารเรื่องมาตรฐานโรงอาหารในโรงเรียนให้กับผู้ประกอบการท่ รร.อนุบาลคุณากร
รร.จปร.เมื่อ ๒๖ ส.ค.๕๓ เวลา ๑๔๐๐ -๑๕๐๐ น.






จ.ส.ต.โกมิน ลาวชัย นายสิบเวชกรรมป้องกัน บรรยายมาตรฐานโรงอาหารในโรงเรียนให้กับ
ผู้ประกอบการทราบเพื่อนำไปปฏิบัติ





วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๒๓

พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 ได้ให้ความหมายของคำที่มีความเกี่ยวข้องด้านสาธาาณสุขไว้หลายคำด้วย กัน แต่ในที่นี้จะขอนำมากล่าวไว้เพียง 2 คำดังนี้ 1. เจ้าพนักงา่นสาธารณสุข หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ ตรวจตรา ดูแล และรับผิดชอบในการ สาธารณสุขโดยทั่วไป หรือเฉพาะในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง 2. พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรี แต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ได้ให้ความหมายของคำที่มีความเกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขไว้หลายคำด้วยกัน แต่ในที่นี้จะขอนำมากล่าวไว้เพียง 2 คำดังนี้ (1) นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล (2) ประธานกรรมการ สุขาภิบาลสำหรับในเขตสุขาภิบาล (3) ผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด (4) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร (5) ปลัดเมืองพัทยาสำหรับในเขตเมืองพัทยา (6) หัวหน้าผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การปกครอง ท้องถิ่นอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่นสำหรับในเขต ราชการส่วนท้องถิ่นนั้น 2. เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข 1. ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานครเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร 2. หัวหน้าฝ่ายสาธารณสุขเมืองพัทยา เป็นพนักงาน เจ้าหน้าที่เฉพาะในเขตเมืองพัทยา 3. ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในเขต จังหวัดนั้น ๆ 4. นายอำเภอเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในเขตอำเภอนั้นๆ 5. นายกเทศมนตรี หัวหน้าฝ่ายสาธารณสุขเทศบาล ประธานกรรมกรรมการสุขาธิบาลและหัวหน้าฝ่ายสาธารณสุขสุขาภิบาล เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาล นั้นๆแล้วแต่กรณี 6. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในเขต ตำบลหรือหมู่บ้านนั้นๆ แล้วแต่กรณี โรคติดต่ออันตราย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข 1. อหิวาตกโรค 2. กาฬโรค 3. ไข้ทรพิษ 4. ไข้เหลือง 5. โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข 1. อหิวาตกโรค (Cholera) 2. กาฬโรค (Plague) 3. ไข้ทรพิษ (Variola Smallpox) 4. ไข้เหลือง (Yellow fever) 5. ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Meningitis) 6. คอตีบ (Diphtheria) 7. โรคบาดทะยักในทารกแรกเกิด (Tetanus neonatorum) 8. โปลิโอ (Poliomyelitis) 9. ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ซึ่งรวมถึไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ 10.ไข้สมองอักเสบ (Encephalitis) 11.โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) 12.ไข้รากสาดใหญ่ (Typhus) 13.วัณโรค (Tuberculosis) 14.แอนแทร็กซ์ (Anthrax) 15.โรคทริคิโนซีส (Trichinosis) 16.โรคคุดทะราด (Yaws) เฉพาะในระยะติดต่อ 17.โรคอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกอย่างเฉียบพลันในเด็ก (Acute flaccid paralysis) 18.โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (หรือโรคซาร์ส Severs Acte Respiratory Syndome)

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตรวจร้านอาหารตามมาตรฐาน Clean Food Good Taste

เมื่อ ๑๙ ส.ค.๕๓ พ..ท.พรชัย มาลัยพวง หน.ผวป.รพ.รร.จปร.,จ.ส.อ.อนุศักดิ์ ทองสุวรรณ และ จ.ส.ต.โกมิน ลาวชัย นายสิบเวชกรรมป้องกัน ร่วมกับ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สสจ.น.ย.ตรวจประเมิน
งานความปลอดภัยด้านอาหาร ท่ ตลาดสด รร.จปร. แผงลอยและร้านจำหน่ายอาหาร ตามมาตรฐาน Clane
Food Good Taste ผลการตรวจ คิดเป็น ร้อยละ ๑๐๐
๑. โรงอาหารผ่านเกณฑ์ ๔ แห่ง
๒. แผงลอย ๒๑ แห่ง
๓. ร้านอาหาร ๕ แห่ง
๔. ร้านอาหารสด ๓ แห่ง (ผ่านเกณฑ์ร้านอาหารปลอดภัย)
๕. ตลาดสด (ผ่านเกณฑ์ตลาดสดน่าซื้อ ระดับ ๓ ดาว)







































ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปี ๕๓

เมื่อ ๕ - ๑๑ ส.ค.๕๓ พ.อ.ธนา สุรารักษ์ ผอ.รพ.รร.จปร.รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
ให้กับนายทหาร นายสิบ พลทหารและลูกจ้าง รพ.รร.จปร.










คำแนะนำ เรื่อง ข้อปฏิบัติสำหรับกิจกรรมการรวมตัวของคนหมู่มาก

คำแนะนำ เรื่อง ข้อปฏิบัติสำหรับกิจกรรมการรวมตัวของคนหมู่มาก
เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย
โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (เอ็ช 1 เอ็น 1)
กระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 8 กรกฎาคม 2552

คำแนะนำสำหรับเจ้าหน้าที่ฉบับนี้ สามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการกำหนดข้อปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ(เอ็ช 1 เอ็น 1) หากจะมีการรวมตัวกันของคนหมู่มากภายในพื้นที่ เช่น การแสดงมหรสพ การประชุมขนาดใหญ่ การแข่งขันกีฬา งานนิทรรศการ งานแต่งงาน งานรื่นเริง หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่มีการรวมตัวกันของคนหมู่มาก ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นสถานที่กลางแจ้งหรือในร่ม ควรมีการปฏิบัติเช่นเดียวกัน เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลความแตกต่างของการแพร่กระจายโรค กระทรวงสาธารณสุขจึงขอให้คำแนะนำ ดังนี้

คำแนะนำสำหรับผู้จัดงานหรือเจ้าภาพงาน
1. ผู้จัดงานหรือกิจกรรมการรวมตัวของคนหมู่มาก ควรให้ข้อมูลข่าวสารในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคแก่ผู้มาร่วมงานหรือกิจกรรม โดยใช้ช่องทางต่างๆ เช่น การส่งจดหมายแจ้งข่าว การประกาศในงาน การลงคำแนะนำในหนังสือพิมพ์ มุมนิทรรศการ
2. ผู้จัดงานควรอำนวยความสะดวกในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคแก่ผู้ร่วมงาน เช่น
· จัดอ่างล้างมือ พร้อมสบู่ กระดาษทิชชู ในห้องน้ำ ให้พอเพียง
· ทำป้ายคำแนะนำหรือหน่วยให้คำแนะนำผู้ที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่บริเวณ ทางเข้างาน
· จัดบริการทางเลือกสำหรับผู้ที่ประสงค์มาร่วมงานเพื่อลดความแออัด โดยการสื่อสาร ข้อมูลทางอื่นทดแทนการมาร่วมงาน เช่น ให้ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ จดหมาย
· จัดให้มีผู้ทำความสะอาดอุปกรณ์และบริเวณที่มีผู้สัมผัสปริมาณมาก เช่น ราวบันได ลูกบิดประตู ห้องน้ำ ด้วยน้ำผงซักฟอก หรือน้ำยาทำความสะอาดทั่วไป อย่างสม่ำเสมอและบ่อยกว่าในภาวะปกติ
· จัดหาหน้ากากอนามัยสำหรับผู้มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ที่มีความจำเป็นต้องอยู่ร่วมกิจกรรม




คำแนะนำสำหรับผู้มาร่วมกิจกรรม
1. ผู้ที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หากอาการไม่มาก ควรหยุดพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านเป็นเวลา 7 วันนับจากวันเริ่มป่วย หรือหลังจากหายเป็นปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน
และไม่ควรเข้าร่วมงานหรือกิจกรรมกับคนหมู่มาก แต่หากจำเป็นต้องเข้าร่วมงาน ให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
2. กลุ่มเสี่ยงที่หากป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่จะมีอาการรุนแรง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ หญิงมีครรภ์ และผู้มีโรคอ้วน ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวควรหลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่มีการรวมตัวของคนหมู่มาก เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการแพร่กระจายของโรคนี้ในวงกว้างแล้ว
3. ประชาชนทั่วไปที่ไปรวมตัวกัน ควรปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยที่ดี เช่น ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ หากมีอาการไอ จาม ให้ใช้กระดาษทิชชูหรือผ้าปิดปากปิดจมูก หากไม่มีหรือหยิบไม่ทัน ไม่ควรใช้มือป้องจมูกปาก (เพราะหากป่วย เชื้อจะติดอยู่ที่มือ แล้วไปเปรอะเปื้อนตามสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ) ให้ไอจามใส่แขนเสื้อแทน จะช่วยลดการฟุ้งกระจายของฝอยละอองน้ำมูกน้ำลายหรือเสมหะได้ดี
4. จากความรู้เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่และสถานการณ์ในขณะนี้ การที่ประชาชนที่ไม่ป่วยสวมหน้ากากอนามัย จะมีประโยชน์น้อย แต่หากผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัย จะมีประโยชน์ในการลดการแพร่กระจายเชื้อและป้องกันการระบาดได้มาก


*************************************

คำแนะนำ เรื่อง ข้อปฏิบัติสำหรับค่ายทหารและค่ายอื่นๆ

คำแนะนำ เรื่อง ข้อปฏิบัติสำหรับค่ายทหารและค่ายอื่นๆ
เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ(เอ็ช 1 เอ็น 1)
กระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 8 กรกฎาคม 2552

คำแนะนำสำหรับเจ้าหน้าที่ฉบับนี้ สามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการกำหนดข้อปฏิบัติสำหรับการป้องกันการแพร่กระจายและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ(เอ็ช 1 เอ็น 1) ภายในค่ายทหาร และค่ายอื่นๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยเป็นสถานที่มีผู้คนหนาแน่นและมีผู้คนเข้าออกเป็นจำนวนมาก มีความเสี่ยงที่จะเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรคได้กว้างขวาง ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุข จึงขอให้คำแนะนำ ดังนี้

คำแนะนำทั่วไป
1. เจ้าหน้าที่ควรให้ข้อมูลความรู้ ในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่แก่ทหารในค่ายและครอบครัวที่พักอาศัยในค่าย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ ด้วยช่องทางต่างๆ เช่น ป้ายประกาศ เสียงตามสาย มุมความรู้ โดยเน้นแนะนำการปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยที่ดี เช่น ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ หากมีอาการไอ จาม ให้ใช้กระดาษทิชชูหรือผ้าปิดปากปิดจมูก หากไม่มีหรือหยิบไม่ทัน ไม่ควรใช้มือป้องจมูกปาก (เพราะหากป่วย เชื้อจะติดอยู่ที่มือ แล้วไปเปรอะเปื้อนตามสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ) ให้ไอจามใส่แขนเสื้อแทน จะช่วยลดการฟุ้งกระจายของฝอยละอองน้ำมูกน้ำลายหรือเสมหะได้ดี
2. จัดสถานที่และอำนวยความสะดวก ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค เช่น
· จัดอ่างล้างมือพร้อมสบู่ กระดาษทิชชู ประจำห้องน้ำ โรงครัว โรงอาหาร
· จัดหน่วยให้คำแนะนำและจัดหาหน้ากากอนามัยสำหรับผู้ที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่
ในบริเวณลงทะเบียนรับเยาวชนในสถานพินิจ หรือผู้ต้องขังเข้า-ออก หรือจุดเยี่ยมญาติ
· ทำความสะอาดสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องใช้ ที่มีผู้สัมผัสมากๆ เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได โต๊ะอาหาร ด้วยน้ำผงซักฟอก หรือน้ำยาทำความสะอาดทั่วไป อย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง

คำแนะนำเพื่อลดการนำเชื้อเข้ามาแพร่ในค่าย
1. คัดกรองทหารที่จะเข้ามาในค่าย หากผู้ใดมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ให้หยุดงานไว้ก่อน มิให้เข้ามาอยู่รวมกับผู้อื่น เช่น อยู่บ้านพัก หรือในห้องพยาบาล ทั้งกลางวันและกลางคืน จนกว่าจะหายเป็นปกติ
2. แนะนำทหารและเจ้าหน้าที่ หากเริ่มมีอาการป่วยให้แจ้งห้องพยาบาลภายในค่าย และรีบแยกผู้ป่วยสงสัยโรคไข้หวัดใหญ่
3. หากมีทหารหรือเจ้าหน้าที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่พร้อมกันจำนวนมากอย่างผิดปกติ
ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อสอบสวน ป้องกัน และควบคุมโรคต่อไป
4. หากค่ายใดพบการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ(เอ็ช1 เอ็น 1) แล้ว ให้ยกเลิกหรือเลื่อนกิจกรรมภายในที่มีการรวมตัวกันหมู่มากออกไปก่อน จัดแบ่งช่วงเวลาการรับประทานอาหารเป็นกลุ่มให้เหลื่อมเวลากัน

คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยสงสัยโรคไข้หวัดใหญ่
1. ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ห้องพยาบาลและอาสาสมัครที่จะดูแลผู้ป่วย
2. แยกผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ ดูแลผู้ป่วยตามคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย และให้ผู้ป่วยพักผ่อนมากๆ และไม่ควรให้ออกกำลังหนัก มิฉะนั้นอาจทำให้อาการป่วยทรุดลง เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้
3. จำกัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การย้ายไปไปค่ายอื่นในช่วง 7 วันนับจากวันเริ่มป่วย
4. หากมีทหารป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่พร้อมกันจำนวนมาก ให้จัดห้องหรือห้องโถงแยกสำหรับผู้ป่วยไว้ในบริเวณเดียวกัน และจัดเจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะ โดยมิให้ย้ายไปมาระหว่างหน่วยหรืออาคารต่างๆ
5. ไม่จำเป็นต้องแยกอุปกรณ์การรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย แต่ให้ทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องครัว ล้างจาน ชาม ช้อน แก้วน้ำให้สะอาด ก่อนผู้ป่วยอื่นจะใช้
6. ซักทำความสะอาด เครื่องนอน เช่น ผ้าห่ม ผ้าปูเตียง ก่อนผู้ป่วยอื่นจะใช้
7. หากครบกำหนดให้ทหารกลับไปเยี่ยมบ้าน หรือออกนอกค่ายในระหว่างที่มีอาการป่วย ควรให้คำแนะนำผู้ที่ป่วยเล็กน้อยดูแลรักษาตัวที่บ้าน หรือหากอาการมากควรไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล
8. ควรให้การดูแลเป็นพิเศษแก่ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ หญิงมีครรภ์ และผู้ที่เป็นโรคอ้วน


*************************************