วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553



เมื่อ ๑๔ ต.ค.๕๓ เวลา ๑๔๐๐ น. พ.อ.อำนาจ รัตนภานพ รอง เสธ.(๑)
เป็นประธานพิธีมอบป้ายรับรองมาตรฐานอาหารสะอาดรสชาติอร่อยให้กับ
เจ้าของผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหาร,แผงลอย.โรงอาหาร และก๋วยเตี๋ยวอนามัย
ในพื้นที่ รร.จปร. โดย มี พ.ท.พรชัย มาลัยพวง หน.ผวป.รพ.รร.จปร.
จ.ส.อ.อนุศักดิ์ ทองสุวรรณ และ จ.ส.ต.โกมิน ลาวชัย เป็นฝ่ายอำนวยการ
ดังนี้
ร้านอาหาร ๕ ร้าน
แผงลอย ๒๑ แผง
โรงอาหาร/โรงครัว ๔ แห่ง
แผงลอยก๋วยเตี๋ยวอนามัย ๒ แผง

















คำแนะนำ เรื่องการป้องกันโรคตาแดง

บทความประชาสัมพันธ์
โรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โทร ๐๓๗ - ๓๙๓๐๑๐ – ๔ ต่อ ๖๒๒๓๕ โทรสาร ๐๓๗ - ๓๙๓๐๐๓
เรื่อง โรคตาแดงและการป้องกัน
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส
การติดต่อ : โรคตาแดงเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย จากคนสู่คน โดยการสัมผัสเชื้อที่ออกมากับน้ำตา หรือขี้ตา แล้วแพร่ไปสู่ผู้อื่น ทั้งโดยตรง และโดยอ้อม เช่น การใช้ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า หรือเครื่องใช้ร่วมกัน โรคนี้อาจระบาดได้ง่ายในทหารที่พักอยู่รวมกัน หากมีคนใดคนหนึ่งเป็นโรคนี้ เชื้อโรคอาจติดมากับมือที่ใช้จับต้องของใช้ร่วมกับผู้ป่วยแล้วนำมาสัมผัสตา ทำให้เกิดอาการติดเชื้อได้ อาจแพร่โดยแมลงวี่ที่ชอบตอมตา หรืออาจเกี่ยวกับการอาบน้ำในแหล่งน้ำที่มีผู้ใช้น้ำร่วมกันมากๆ
การป้องกันและควบคุม
๑. ควรล้างมือบ่อยๆ เพราะมือไปจับสิ่งของต่างๆ อาจมีเชื้อไวรัสติดมา
๒.อย่าเอามือป้ายตาตนเอง หรือไปป้ายตาคนอื่น เพราะอาจจะเป็นการแพร่กระจายเชื้อโรค
๓.ไม่ควรใช้ของใช้ร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดมือใน
ห้องน้ำ ปลอกหมอน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค
๔.หากมีการระบาดในหน่วยทหาร ให้ระมัดระวังการติดเชื้อบริเวณห้องส้วม ห้องน้ำ และโรงเลี้ยง เมื่อพบผู้ป่วยโรคนี้ต้องแยกผู้ป่วยทันที และให้ส่งสถานพยาบาลใกล้เคียงให้ผู้ป่วยหยุดอยู่กับบ้าน
๕.แนะนำให้นักเรียนนายร้อยหรือทหารหรือผู้ป่วยทราบถึงอาการโรคนี้ เมื่อปรากฏอาการที่น่าสงสัย ให้รีบปรึกษา เจ้าหน้าที่แพทย์ทันที
๖.ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำสกปรก หากบังเอิญน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา
ต้องรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที
๗. ถ้ามีผู้ป่วยด้วยโรคนี้เกิน 5% ให้แจ้ง รพ.รร.จปร. โดยด่วน
…………………………………………….

ด้วยความปรารถนาดี จากแผนกเวชกรรมป้องกัน รพ.รร.จปร.

สอบสวนโรคตาแดง

พ.ท.พรชัย มาลัยพวง หน.ผวป.รพ.รร.จปร.ร่วมกับ
ทีมสอบสวนโรค(SRRT)จาก สสจ.น.ย.สอบสวนโรคตาแดงและแนะนำการป้องกันควบคุมโรคตาแดงที่ รร.ตท.
เมื่อ ๒๐ ก.ย.๕๓










วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

การกำจัดหนูในบ้านพัก,สำนักงาน

แนวทางการควบคุมและกำจัดหนูในพื้นที่บ้านพัก พบ.

หนูที่อาจพบเห็นได้ตามบ้านเรือนทั่วไปมี 4 ชนิด ได้แก่ หนูท่อ , หนูท้องขาว, หนูจี๊ด, หนูหริ่งบ้าน หนูบ้านฉลาดเรียนรู้เร็วเป็นสังคมครอบครัว มี พ่อ แม่ ลูก ลูกตัวที่โตเต็มวัย ถึงจะแยกครอบครัวออกไปหากินตามลำพังและสร้างครอบครัวใหม่ วันหนึ่ง ๆ จะมีช่วงของการท่องเที่ยวแสวงหาอาหารประมาณ 6 ชั่วโมง ในเวลากลางคืนหรือช่วงที่สงบเงียบ เวลาที่เหลือจะใช้ไปในการหลบซ่อนตัวอยู่ในรัง รัศมีในการหากินไม่เกิน 50 เมตร และมีเขตอิทธิพลเป็นของตนเองโดยเฉพาะ หนูบ้านของไทยอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 1 ปี
สถิติความสามารถของหนูบ้านไทย
1. การปีนป่ายทางดิ่ง สามารถไต่ลวดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 มม.ได้อย่างสบาย ดังนั้นจึงไม่เป็นการยากลำบากในการไต่เสาไฟฟ้า ท่อน้ำ ต้นไม้
2. การกระโดดจากท่าปกติ สามารถพุ่งตัวขึ้นด้วยกำลังขาได้สูงถึง 1 – 2 ฟุต แต่ท่ามีทางวิ่งให้เล็กน้อย สามารถกระโดดข้ามสิ่งกีดขวางซึ่งสูง 1-3 ฟุต ได้
3. กระโดดในแนวราบได้ไกลเกินกว่า 0.5-3 เมตร จึงสามารถข้ามคูน้ำหรือช่องว่างระหว่างอาคาร หรือกระโดดจากกิ่งไม้เข้าตัวอาคารได้
4. ลอยตัวอยู่บนผิวน้ำได้นาน 3 วัน ดังนั้นจึงสามารถว่ายน้ำได้ไกลเกินกว่า 50 เมตร (R.rattus)
5. ดำน้ำได้นานมีความอึดนานกว่า 1 นาที (R.norvegicus)
6. สามารถขุดเป็นรู หรือโพรงลงไปในดินได้ลึกถึง 50 ซม. ( R. R.norvegicus)
7. ตกจากที่สูงไม่เกิน 50 เมตร จะไม่มีอันตรายหรือได้รับบาดเจ็บ
8. กินอาหารได้ 10 % ของน้ำหนักตัว และต้องการน้ำเท่ากับ 54 % ของน้ำหนักตัว
9. ฟันคู่หน้าแหลมคมและแข็งแรง ใช้ในการกัดแทะ ขุดเจาะ
10. หนู 1คู่ สามารถออกลูกหลานแพร่พันธุ์ได้ 100-1200 ตัว ภายใน 1 ปี
การสังเกตหนูแต่ละชนิด
1. หนูท่อ หรือหนูนอร์เวย์ ( Rattus norvegicus ) ชื่ออื่น ๆ ที่เรียกกันตามท้องถิ่นได้แก่ หนูกองขยะ เพราะพบเห็นตามกองขยะเสมอ บ้างทีก็เรียกหนูขี้เรื้อน เพราะลักษณะของขนที่มีน้อย และหลุดเป็นหย่อม ๆ คล้ายกับลักษณะของสุนัขขี้เรื้อน หนูท่อตัวโตเป็นหนูในตระกูล Rattus ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด น้ำหนักตัวประมาณ 300 - 350 กรัม วัดจากโคนหางถึงปลายจมูก ประมาณ 19 - 25 ซม. ส่วนหางยาวประมาณ 16-20 ซม. ตาเล็ก ใบหูเล็ก จมูกเป็นสันทู่ เหมาะสำหรับหารขุดรู หางมี 2 สี ด้านบนสีจะเข้มกว่าด้านล่าง มีเกล็ดหยาบ ๆ ที่โคนหางเห็นได้ชัดเจน ตัวเมียมีเต้านมเรียงกันอยู่ที่ส่วนอก 3 คู่ และส่วนท้อง 3 คู่ หนูท่อตัวเมียออกลูกครั้งละ 8 - 12 ตัว ระยะหากินอยู่ในรัศมีไม่เกิน 50 เมตร ลักษณะมูลหนูคล้ายแคปซูล ด้านหัว และท้ายกลมมนมีขนาดโดยประมาณ 2 ซม. หนูท่อชอบขุดรูอยู่ตามพื้นดิน ดังนั้นแหล่งอาหารจึงอยู่บนที่ราบ เช่น ข้างกองขยะ ท่อระบายน้ำ บริเวณหลุมส้วม ใต้ถุนตึกหรืออาคาร บริเวณริมตลิ่งหรือทางน้ำไหล ตามแผงวางสินค้าในตลาด อาหารที่หนูท่อชอบมาก ได้แก่ อาหารสด เช่นไข่ ผักสด เนื้อสัตว์ ปลาและเศษอาหารที่เน่าเสีย หนูท่อไม่ชอบไต่ขึ้นที่สูงเพราะตัวโตและการยึดเกาะของเท้าไม่ดี
2. หนูท้องขาว มีชื่อทางวิชาการ 3 ชนิด คือ Rattus rattus rattus หรือ Black rat ชนิดที่สองเรียก Rattus rattus frugivorus หรือ Tree rat พวกนี้ชอบทำรังคล้ายรังนกบนต้นไม้ หรือตามพุุ่่มไม้ ชนิดที่สามเรียกว่า Rattus rattus alexandrianus ชอบอาศัยอยู่ตามเพดานของอาคารบ้านเรือน ตามช่องลม บริเวณกันสาดใต้หลังคา ถ้าบริเวณรอบบ้านมีต้นไม้แผ่กิ่งก้านสาขาอยู่ใกล้เคียง อาจพบหนูท้องขาวและรังอยู่บนต้นไม้นั้นด้วย หนูท้องขาวมีขนเป็นสีน้ำตาลเกือบดำเป็นมัน แต่ขนส่วนใต้ท้องมีสีขาวปนเทา หรือสีครีม น้ำหนักตัวประมาณ 90-250 กรัม วัดจากโคนหางถึงปลายจมูกยาวประมาณ 17-20 ซม. ส่วนหางจากโคนหางถึงปลายหางยาว 20-25 ซม. โดยทั่วไปความยาวของหางจะยาวกว่าลำตัว ลักษณะนี้เห็นได้ชัด อาหารที่ชอบ คือ พวกเม็ดพืช ได้แก่ข้าวชนิดต่าง ๆ ถั่ว ข้าวโพด มันฝรั่ง อาหารที่ออกรสหวาน ระยะหากินไม่เกินรัศมี 50 เมตร ลักษณะมูลหนู จะโค้งเป็นรูปกระสวย หัวท้ายแหลมยาวประมาณ 1 ซม. หนูท้องขาวรูปร่างปราดเปรียว ปีนป่ายคล่องแคล่ว ตัวเมียออกลูกครั้งละ 6-8 ตัว ตัวเมียมีเต้านมที่หน้าอก 2 คู่ และอยู่ที่ส่วนท้อง 3 คู่ ลักษณะเด่นชัด คือ จมูกแหลมยาว หูใหญ่ หางยาวกว่าลำตัวมีเกล็ดเล็ก ๆ ละเอียดตลอดหาง
3. หนูจี๊ด ชื่อทางวิชาการเรียก Rattus exulans ชื่ออื่น ๆ ที่ใช้เรียกกันคือ Polynesian rat , Ship or Black rat ลักษณะสำคัญที่สังเกตได้คือเวลาออกหากินจะส่งเสียงร้องจี๊ด ๆ ๆ เป็นหนูขนาดเล็กตัวโตเต็มที่มีน้ำหนัก 40-50 กรัม วัดจากโคนหางถึงปลายจมูกยาวประมาณ 8-10 ซม. ส่วนหาง วัดจากโคนหางถึงปลายหางยาว 10-12 ซม. ตัวเมียมีเต้านมที่หน้าอก 2 คู่ ที่ส่วนท้อง 2 คู่ รูปร่างเพรียว จมูกแหลมตาโต หูใหญ่ ขนด้านหลังสีน้ำตาล ด้านท้องสีเทา หางยาวเรียบสีดำ ตัวเมียออกลูกครั้งละ 8-12 ตัว ระยะหากินอยู่ในรัศมีไม่เกิน 10 เมตรจากรัง ที่อยู่อาศัย ชอบที่สูงตามซอกมุมที่ลับตาของอาคาร ตามเพดาน รังหนูจี๊ดตรวจพบเสมอบริเวณหลังคาของฟาร์มเลี้ยงเป็ดและไก่ เส้นทางเดินหากินของหนูจี๊ดมักตรวจพบรูค่อนข้างกลมขนาด 2 ซม. เป็นช่องทางใช้ผ่านเข้าออก ถ้ารูหรือช่องนี้ถูกปิด หนูจี๊ดจะพยายามเจาะที่เดิมอีก แสดงว่าเป็นสัตว์ที่ไว้ใจกับสิ่งคุ้นเคย และจะหลีกเลี่ยงสิ่งของที่แปลกใหม่ อายุขัยเฉลี่ย 100 วัน กินอาหารได้ทุกชนิดชอบเมล็ดพืช ผลไม้ ถั่ว ขนมปัง และอาหารที่มีกลิ่นและรสหวาน
4. หนูหริ่งบ้าน (Asian house mouse ) ชื่อทางวิชาการคือ Mus musculus เป็นหนูบ้านที่มีขนาดเล็กที่สุด น้ำหนักตัวประมาณ 10-15 กรัม วัดจากโคนหางถึงปลายจมูกยาวประมาณ 9 ซม. วัดจากโคนหางถึงปลายหาง 6-9 ซม. ขนด้านหลังสีเทาปนน้ำตาล ลักษณะอ่อนนุ่มเป็นมัน ขนด้านท้องสีขาว หางด้านบนสีดำ ด้านล่างสีจางกว่า ตัวเมียมีเต้านมที่หน้าอก 3 คู่ ที่ท้อง 2 คู่ ตัวเมียออกลูกครั้งละ 5-6 ตัว จำนวนลูกเฉลี่ยต่อปีประมาณ 34 ตัว ชอบอาศัยอยู่ตามลิ้นชัก ซอกตู้ ที่เก็บของ ช่องรอยแตกของฝาหรือกำแพง ชั้นเก็บวัสดุอาหาร ตามกล่องที่ตั้งไว้ในที่ลับตา รัศมีออกหากินไม่เกิน 10 เมตรจากรัง ตัวผู้จะหากินไกลกว่าตัวเมีย ลักษณะของมูลเป็นแท่งสั้น ๆ ปลายแหลมยาวประมาณครึ่งเซนติเมตร ชอบสะสมอาหาร และอยู่เป็นครอบครัว ๆ มีตัวเมียหลายตัวต่อตัวผู้ 1 ตัว กินอาหารได้ทุกชนิด อาหารที่ชอบ เมล็ดพืชประเภทข้าว

โรคที่เกิดจากหนู

หนูเป็นรังของโรค ( Reservoir of infectious agent ) หลายชนิด ซึ่งอาจแพร่มาสู่คน ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย โรคสำคัญที่เกิดจากหนู และควรมีมาตรการเฝ้าระวังอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแบ่งออกได้เป็นกลุ่มดังนี้
1. กลุ่มโรคที่เกิดจากตัวหนูโดยตรง ได้แก่ โรคฉี่หนู หรือเล็ปโตสไปโรซิส , โรคไข้หนูกัด โรคไข้สมองอักเสบ ( Angiostrongyliasis ) โรคพยาธิตาบวม (Trichinosis ) โรคไข้สมองอักเสบไวรัส LCM
2. กลุ่มโรคที่เกิดจากหมัดหนู ได้แก่ กาฬโรค ไข้รากสาดใหญ่ (Murine Typhus fever , Flea borne )
3. กลุ่มโรคที่เกิดจากไรหนู ได้แก่ ไข้รากสาดใหญ่ ( Scrop typhus, Mite borne )
4. กลุ่มโรคที่เกิดจากเหาหนู ได้แก่ ไข้กลับซ้ำ ( Relapsing Fever , Louse borne )ไข้รากสาดใหญ่ ( Classical Typhus fever )
5. กลุ่มโรคที่เกิดจากเห็บหนู ได้แก่ ไข้กลับซ้ำ ( Relapsing Fever , Tick borne )

มาตรการในการป้องกันและกำจัดหนู นขต.บก.พบ.และในพื้นที่บ้านพัก พบ.
วิธีดำเนินการ

การควบคุมหนูบ้านให้ได้ผลดี และทำให้พื้นที่นั้น ๆ ปลอดหนูอย่างถาวรนั้นเป็นเรื่องกระทำได้ยาก ขึ้นอยู่กับวินัยทางสุขาภิบาลของบุคคล และชุมชนเป็นปัจจัยสำคัญ มาตรการที่จะนำมาใช้ในการป้องกันหรือกำจัด ต้องร่วมมือกันปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และพร้อมเพรียงกัน
1. การปรับปรุงที่ทำงานและบ้านอาศัยตามหลักการสุขาภิบาล
2.1 ป้องกันมิให้หนูเข้าสู่ที่ทำงาน และที่พักอาศัย เช่น ปิดหรืออุดช่องทางเข้าออกของหนู ด้วยวัสดุที่หนูไม่สามารถกัดแทะได้ สร้างสิ่งกีดขวางทางเดิน ทางวิ่งของหนู
2.2 เก็บรวบรวมขยะมูลฝอยใส่ภาชนะปิดให้มิดชิด เพื่อเป็นการกำจัดแหล่งอาหารของหนู ก่อนนอนควรนำขยะทั้งหมดในครัวเรือนนำมาทิ้งในที่ทิ้งถังขยะรวมที่จัดทำไว้ให้
2.3 ดูแลรางระบายน้ำโสโครก ท่อน้ำทิ้งอย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้เป็นช่องทางเดิน , ทำรังพักอาศัย หรือเป็นแหล่งอาหาร
1.4 จัดอาคารสำนักงาน / บ้านเรือน ทั้งภายในและบริเวณรอบ ๆ ให้สะอาดไม่รกรุงรัง ไม่ให้มีมุมอับอันเป็นที่หลบซ่อน หรือเป็นที่พักอาศัยได้
1.5 จัดเก็บอาหาร หรือเสบียง อาหารแห้งต่าง ๆ ในภาชนะที่มิดชิดและป้องกันการกัดแทะของหนูได้
1.6 การนำอาหารมารับประทานในอาคารสำนักงาน จะต้องนำถุงพลาสติกใส่อาหาร และเศษอาหารที่รับประทานเหลือ ไปทิ้งที่ถังขยะภายนอกอาคารที่จัดไว้ให้ทุกวันหลังเลิกงาน

3. การกำจัดหนูโดยใช้สารพิษ
3.1 สารพิษที่ออกฤทธิ์เร็ว ใช้ผสมกับเหยื่อโดยอัตราส่วนของความเข้มข้น 0.1 – 10 % เช่น ซิงค์ฟอสไฟด์ , เรดสควิล , สตริคนิน , ฟอสฟอรัสเหลือง เป็นต้น ใช้ผสมกับเหยื่อประเภท เนื้อบด ปลาป่น ข้าวโพดป่น ปลายข้าว เนื้อมะพร้าว ( สารพิษ 1 หน่วย ต่อเหยื่อ 99 หน่วย) เพื่อให้เยื่อพิษมีกลิ่นและรสจูงใจหนู ควรผสมน้ำเชื่อมหรือน้ำมันพืชเล็กน้อย ระหว่างคลุกเคล้า หนูจะตายภายใน 1 – 2 ชั่วโมง
3.2 สารพิษที่ออกฤทธิ์ช้า เป็นสารพิษที่ออกฤทธิ์ยับยังการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant ) ใช้ผสมกับเหยื่อเช่นเดียวกัน ตัวอย่างของสารพิษชนิดนี้ ได้แก่ ราคูมิน , พินโดน , ฟูมาริน แต่ในปัจจุบันมีการผลิตเหยื่อพิษสำเร็จรูปจำหน่าย ทำให้สะดวกในการใช้งาน และได้ผลดี เช่นเหยื่อสำเร็จรูป โบรมาดิโอโลน หรือ KED หนูจะเข้ามากินเหยื่อหลายครั้งโดยไม่ระแวงสงสัย เมื่อได้รับสารพิษเข้าไปในระดับที่เป็นพิษ จะทำให้หนูตกเลือดทั้งภายนอกภายใน และตายภายใน 1 – 3 วัน
4. การกำจัดหนูโดยใช้กรงดัก การใช้กรงดักหนูเป็นวิธีการดำเนินการต่อจากการใช้วิธีสารพิษซึ่งได้ดำเนินการกำจัดครั้งใหญ่ไปแล้ว จึงใช้กรงดักหนูเป็นวิธีกำจัดต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อบรมมาตรฐานโรงอาหารในโรงเรียน


พ.ท.พรชัย มาลัยพวง หน.ผวป.รพ.รร.จปร.อบรมแนะนำการดำเนินงานความปลอดภัย
ด้านอาหารเรื่องมาตรฐานโรงอาหารในโรงเรียนให้กับผู้ประกอบการท่ รร.อนุบาลคุณากร
รร.จปร.เมื่อ ๒๖ ส.ค.๕๓ เวลา ๑๔๐๐ -๑๕๐๐ น.






จ.ส.ต.โกมิน ลาวชัย นายสิบเวชกรรมป้องกัน บรรยายมาตรฐานโรงอาหารในโรงเรียนให้กับ
ผู้ประกอบการทราบเพื่อนำไปปฏิบัติ





วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๒๓

พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 ได้ให้ความหมายของคำที่มีความเกี่ยวข้องด้านสาธาาณสุขไว้หลายคำด้วย กัน แต่ในที่นี้จะขอนำมากล่าวไว้เพียง 2 คำดังนี้ 1. เจ้าพนักงา่นสาธารณสุข หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ ตรวจตรา ดูแล และรับผิดชอบในการ สาธารณสุขโดยทั่วไป หรือเฉพาะในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง 2. พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรี แต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ได้ให้ความหมายของคำที่มีความเกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขไว้หลายคำด้วยกัน แต่ในที่นี้จะขอนำมากล่าวไว้เพียง 2 คำดังนี้ (1) นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล (2) ประธานกรรมการ สุขาภิบาลสำหรับในเขตสุขาภิบาล (3) ผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด (4) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร (5) ปลัดเมืองพัทยาสำหรับในเขตเมืองพัทยา (6) หัวหน้าผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การปกครอง ท้องถิ่นอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่นสำหรับในเขต ราชการส่วนท้องถิ่นนั้น 2. เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข 1. ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานครเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร 2. หัวหน้าฝ่ายสาธารณสุขเมืองพัทยา เป็นพนักงาน เจ้าหน้าที่เฉพาะในเขตเมืองพัทยา 3. ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในเขต จังหวัดนั้น ๆ 4. นายอำเภอเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในเขตอำเภอนั้นๆ 5. นายกเทศมนตรี หัวหน้าฝ่ายสาธารณสุขเทศบาล ประธานกรรมกรรมการสุขาธิบาลและหัวหน้าฝ่ายสาธารณสุขสุขาภิบาล เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาล นั้นๆแล้วแต่กรณี 6. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะในเขต ตำบลหรือหมู่บ้านนั้นๆ แล้วแต่กรณี โรคติดต่ออันตราย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข 1. อหิวาตกโรค 2. กาฬโรค 3. ไข้ทรพิษ 4. ไข้เหลือง 5. โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข 1. อหิวาตกโรค (Cholera) 2. กาฬโรค (Plague) 3. ไข้ทรพิษ (Variola Smallpox) 4. ไข้เหลือง (Yellow fever) 5. ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Meningitis) 6. คอตีบ (Diphtheria) 7. โรคบาดทะยักในทารกแรกเกิด (Tetanus neonatorum) 8. โปลิโอ (Poliomyelitis) 9. ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ซึ่งรวมถึไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ 10.ไข้สมองอักเสบ (Encephalitis) 11.โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) 12.ไข้รากสาดใหญ่ (Typhus) 13.วัณโรค (Tuberculosis) 14.แอนแทร็กซ์ (Anthrax) 15.โรคทริคิโนซีส (Trichinosis) 16.โรคคุดทะราด (Yaws) เฉพาะในระยะติดต่อ 17.โรคอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกอย่างเฉียบพลันในเด็ก (Acute flaccid paralysis) 18.โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (หรือโรคซาร์ส Severs Acte Respiratory Syndome)

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตรวจร้านอาหารตามมาตรฐาน Clean Food Good Taste

เมื่อ ๑๙ ส.ค.๕๓ พ..ท.พรชัย มาลัยพวง หน.ผวป.รพ.รร.จปร.,จ.ส.อ.อนุศักดิ์ ทองสุวรรณ และ จ.ส.ต.โกมิน ลาวชัย นายสิบเวชกรรมป้องกัน ร่วมกับ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สสจ.น.ย.ตรวจประเมิน
งานความปลอดภัยด้านอาหาร ท่ ตลาดสด รร.จปร. แผงลอยและร้านจำหน่ายอาหาร ตามมาตรฐาน Clane
Food Good Taste ผลการตรวจ คิดเป็น ร้อยละ ๑๐๐
๑. โรงอาหารผ่านเกณฑ์ ๔ แห่ง
๒. แผงลอย ๒๑ แห่ง
๓. ร้านอาหาร ๕ แห่ง
๔. ร้านอาหารสด ๓ แห่ง (ผ่านเกณฑ์ร้านอาหารปลอดภัย)
๕. ตลาดสด (ผ่านเกณฑ์ตลาดสดน่าซื้อ ระดับ ๓ ดาว)